เมนู

หมวดหก 2 หมวดว่าด้วยจีวรที่ทำค้างเป็นต้น ได้อธิบายไว้แล้วใน
กฐินขันธกะ.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 6 จบ

[พรรณนาหมวด 7]


วินิจฉัยในหมวด 7 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า สตฺต สามีจิโย มีความว่า พึงทราบสามีจิกรรม 7
เพราะเพิ่มข้อว่า ภิกษุณีนั้น ก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น
ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น นี้เข้า
ในสามีจิกรรม 6 ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.
หลายบทว่า สตฺต อธมฺมิกา ปฏิญฺญาตกรณา ได้แก่ ทำตาม
ปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม 7 ที่ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะ อย่างนี้ว่า ภิกษุ
ต้องปาราชิก อันภิกษุผู้ต้องปาราชิก โจทอยู่ จึงปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้อง
สังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยสังฆาทิเสส, ชื่อว่าทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม.
แม้ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ก็ได้ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะนั้นแล.
หลายบทว่า สตฺตนฺนํ อนาปตฺติ สตฺตาหกรณีเยน คนฺตุํ นี้
ได้กล่าวแล้วในวัสสูปนายิกขันธกะ.
สองบทว่า สตฺตานิสํสา วินยธเร มีความว่า อานิสงส์ 5 ที่กล่าว
แล้วในหมวด 5 กับ 2 อานิสงส์นี้ คือ อุโบสถ ปวารณาเป็นหน้าที่ของ
พระวินัยธรนั้น จึงรวมเป็น 7.

สองบทว่า สตฺต ปรมานิ ได้แก่ อย่างยิ่งที่กล่าวแล้วในหมวด 6
นั่นแล พึงจัดด้วยอำนาจหมวด 7.
หมวดเจ็ด 2 หมวด มีว่าด้วยจีวรที่ทำแล้วเป็นอาทิ ได้แสดงแล้วใน
กฐินขันธกะ. หมวดเหล่านี้ คือ อาบัติที่ต้องเห็น ไม่มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่
ต้องเห็น มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่ต้องทำคืน มีแก่ภิกษุ, เป็นหมวดเจ็ด 3 หมวด.
อธัมมิกะ 2 หมวด, ธัมมิกะ 1 หมวด. ทั้ง 3 หมวดนั้น ได้แสดง
แล้วในจัมเปยยขันธกะ.
บทว่า อสทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ หรือธรรมที่ไม่สงบ
อธิบายว่า ธรรมไม่งาม คือ เลว ลามก.
บทว่า สทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ คือ ของพระอริยะ
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือธรรมที่สงบ, อธิบายว่า ธรรมที่งาม คือ สูงสุด.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 7 จบ

[พรรณนาหมวด 8]


วินิจฉัยในหมวด 8 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อฏฺฐานิสํเส ได้แก่ อานิสงส์ 8 ที่ตรัสไว้ในโกสัมพิกขันธกะ
อย่างนี้ คือ เราทั้งหลายจักไม่ทำอุโบสถกับภิกษุนี้ จักเว้นภิกษุนี้เสีย ทำอุโบสถ
ไม่พึงปวารณากับภิกษุนี้, จักไม่ทำสังฆกรมกับภิกษุนี้, จักไม่นั่งบนอาสนะ
กับภิกษุนี้, จักไม่นั่งในที่ดื่มยาคูกับภิกษุนี้, จักไม่นั่งในหอฉันกับภิกษุนี้, จัก
ไม่อยู่ในที่มุงอันเดียวกันกับภิกษุนี้, จักไม่ทำการกราบ, ลุกขึ้นรับ, อัญชลีกรรม
สามิจิกรรม, ตามลำดับผู้แก่กับภิกษุนี้, เว้นภิกษุนี้เสีย จึงจักทำ แม้ในหมวด
8 ที่ 2 ก็นัยนี้แล.